แบบดาว (Star Network) เป็นวิธีการที่นิยมใช้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กเข้ากับคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (Host Computer) ซึ่งจะใช้เป็นเครื่องศูนย์กลาง และต่อสายไปยังคอมพิวเตอร์หรือเทอร์มินัลตามจุดต่างๆ แต่ละจุดเปรียบได้กับแต่ละแฉกของดาวนั่นเอง ในการต่อแบบนี้ คอมพิวเตอร์แต่ละตัวจะถูกต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางโดยตรง จึงไม่มีปัญหาการแย่ง การใช้สายสื่อสาร จึงทำให้มีการตอบสนองที่รวดเร็วการส่งข้อมูลแต่ละสถานี (เครื่องคอมพิวเตอร์ย่อยๆ) ก็จะส่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางก่อนแล้วตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางนี้จะเป็นผู้ส่งไปยังสถานีอื่นๆ การควบคุมการรับส่งภายในระบบทั้งหมดจะขึ้นอยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางดังนั้นถ้าเครื่องศูนย์กลางมีปัญหาขัดข้องก็จะทำให้ระบบทั้งระบบต้องหยุดชะงักทันที
ข้อดี
1. เป็นระบบที่ง่ายต่อการติดตั้ง
2. เนื่องจากการรับ – ส่งข้อมูลขึ้นอยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางทั้งหมดจึงทำให้การรับ – ส่งข้อมูลทำได้ง่าย
3. หากอุปกรณ์ชิ้นใดเสียหายก็จะไม่ส่งผลกระทบต่อระบบ เพราะมีการใช้อุปกรณ์ที่แยกออกจากกัน
4. การตอบสนองที่รวดเร็วเพราะไม่ต้องแย่งกันใช้สายสื่อสาร
5. หากสถานีใดเกิดความเสียหายก็สามารถที่จะตรวจสอบได้ง่าย
ข้อเสีย
1. เสียค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและบำรุงรักษามาก
2. หากคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางขัดข้อง ก็จะทำให้ระบบใช้งานไม่ได้ทันที
3. ขยายระบบได้ยากเพราะต้องทำจากศูนย์กลางออกมา
4. เครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางมีราคาแพง
ที่มา
http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/tech04/24/n1_21.html
เพิ่มเติม
โครงสร้างการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบดาว
ที่มารูปภาพ : http://www.garethjmsaunders.co.uk/pc/images/network/star-topology.gif
ข้อดี
1. เป็นระบบที่ง่ายต่อการติดตั้ง
2. เนื่องจากการรับ – ส่งข้อมูลขึ้นอยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางทั้งหมดจึงทำให้การรับ – ส่งข้อมูลทำได้ง่าย
3. หากอุปกรณ์ชิ้นใดเสียหายก็จะไม่ส่งผลกระทบต่อระบบ เพราะมีการใช้อุปกรณ์ที่แยกออกจากกัน
4. การตอบสนองที่รวดเร็วเพราะไม่ต้องแย่งกันใช้สายสื่อสาร
5. หากสถานีใดเกิดความเสียหายก็สามารถที่จะตรวจสอบได้ง่าย
ข้อเสีย
1. เสียค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและบำรุงรักษามาก
2. หากคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางขัดข้อง ก็จะทำให้ระบบใช้งานไม่ได้ทันที
3. ขยายระบบได้ยากเพราะต้องทำจากศูนย์กลางออกมา
4. เครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางมีราคาแพง
ที่มา
http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/tech04/24/n1_21.html
เพิ่มเติม
โครงสร้างการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบดาว
รูปแบบโครงสร้างแบบดาว (Star Topology) ซึ่งได้รับความนิยมในการนำมาใช้งานอย่างมาก จะวางเครื่องเซิร์ฟเวอร์ไว้ที่ศูนย์กลางของระบบโดยมีอุปกรณ์ทั้งหมดเชื่อมต่อแบบ จุด-ต่อ-จุดเข้ามาที่เซิร์ฟเวอร์โดยตรงในการรับและส่งข้อมูล เซิร์ฟเวอร์จะต้องทำการสอบถาม(Polling) อุปกรณ์ที่จะติดต่อด้วยก่อนเสมอ การที่ไม่มีอุปกรณ์ เช่น คอนเซ็นเทรเตอร์คั่นกลางระหว่างเซิร์ฟเวอร์กับอุปกรณ์ที่เหลือทำให้เซิร์ฟเวอร์ต้องทำงานหนักขึ้นรูปแบบโครงสร้างแบบดาว
จากภาพแสดงการเชื่อมต่อโครงสร้างแบบดาวโดยใช้ตู้สลับสัญญาณพีบีเอ็กซ์ (Private Branch Exchange; PBX) ทำหน้าที่แทนคอมพิวเตอร์ที่ศูนย์กลางของระบบเครื่องโทรศัพท์และคอมพิวเตอร์รวมทั้งอุปกรณ์อื่นจะเชื่อมต่อโดยตรงแบบจุด - ต่อ - จุดเข้ากับตู้พีบีเอ็กซ์ ดังนั้นข้อมูลจึงต้องเดินทางผ่านตู้นี้เสมอ การติดต่อไปยังระบบเครือข่ายภายนอกก็ต้องติดต่อผ่านตู้นี้เช่นกัน ระบบเครือข่ายโครงสร้างแบบดาวมีจุดอ่อนเช่นเดียวกับระบบที่ใช้โครงสร้างลำดับชั้นนั่นคือถ้าคอมพิวเตอร์ที่ศูนย์กลางหยุดทำงาน ระบบเครือข่ายนั้นก็จะใช้การไม่ได้ทั้งระบบ ในองค์กรที่ต้องการความเชื่อใจในระบบสูงจะใช้วิธีจัดตั้งอุปกรณ์ที่ศูนย์กลางแบบซ้ำซ้อน คือมีอยู่สองเครื่อง โดยปกติจะใช้เครื่องหลักทำงาน ถ้าเครื่องหลักไม่สามารถทำงานได้ก็จะสลับมาใช้เครื่องสำรองให้ทำงานต่อไปได้ในทันที
ข้อดีของเครือข่ายแบบดาว
1. สะดวก ง่ายต่อการตรวจสอบการทำงานของระบบโดยรวม
2. หากเครื่องคอมพิวเตอร์สถานีงานหนึ่งเสีย เครื่องอื่น ๆ สามารถใช้งานได้ตามปกติ
3. มีความเป็นระเบียบ
ข้อเสียของเครือข่ายแบบดาว
1. อัตราเร็วในการส่งข้อมูลช้า ( 4 Mbps)
2. สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายของสายสัญญาณ
3. การขยายระบบจะขึ้นอยู่กับจุดควบคุมส่วนกลาง
4. ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์เซริ์ฟเวอร์เสีย เครือข่ายจะไม่สามารถทำงานได้
ที่มา
https://sites.google.com/site/day15396/7
เยี่ยม
ตอบลบ